เรียนอะไรถ้าอยากเป็น นักพยากรณ์อากาศหรือนักอุตุนิยมวิทยา

วันนี้มาแนะนำอาชีพที่น่าสนใจให้น้องๆ สายวิทย์ที่อยากเป็นนักพยากรณ์อากาศหรือนักอุตุนิยมวิทยาได้ทราบว่า ต้องเรียนอะไรถึงเข้าสู่วงการนี้ได้ ส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐเพื่อให้คำปรึกษากับหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันคนให้ความสนใจกับการพยากรณ์อากาศเพิ่มขึ้นมาก

การทำงานของหน่วยงานนี้มีหลายส่วนด้วยกันและต้องทำงานแข่งกับเวลา จะใช้ข้อมูลเป็นหลัก ใช้ความรู้ทั้ง วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ เพื่อรวบรวมข้อมูล ความชื้น ฝน ฝุ่น ลม ความกดอากาศ  ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการวัด แล้วส่งไปตรวจสอบ วิเคราะห์ ประมวลผลการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาพยากรณ์ น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ที่จะส่งกับหน่วยงานต่างๆ เช่น การเกษตรกร ประมง นักธุรกิจ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ฯลฯ

สาขาวิชาที่นำไปสู่การเป็นนักพยากรณ์อากาศ จะต้องเรียนจบมัธยมสายวิทย์-คณิตศาสตร์ เพื่อมาต่อปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์

  • สาขาวิชาอุตุนิยมวิทยา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์
  • สาขาคณิตศาสตร์ สถิติ
  • สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
  • ธรณีฟิสิกส์
  • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ภูมิศาสตร์

ในปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่า การพยากรณ์มีความสำคัญมาก เพื่อลดความเสี่ยงในภัยพิบัติ ทั้ง พายุ อุทกภัย แผ่นดินไหว ปริมาณฝน จึงจำเป็นต้องมีนักพยากรณ์ที่มีความเชี่ยวชาญตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและแจ้งข่าวให้ประชาชนได้รับรู้และเตรียมพร้อม

เรียนจบแล้วสามารถทำงานได้หลายที่ นอกจาก กรมอุตุนิยมวิทยาแล้วยังทำงานได้ที่  สถานีโทรทัศน์ กรมทหาร หน่วยงานเอกชนที่มีหน่วยพยากรณ์อากาศ ประกันภัย หน่วยวิเคราะห์สภาพอากาศเพื่อธุรกิจ หรือบริษัทซอฟต์แวร์พยากรณ์อากาศ

สนใจศึกษาต่อต่างประเทศติดต่อ EdNET 0894490272 หรือฝากข้อความที่ Line: @ednet